เส้นทางหลวงสู่อินเดีย – พม่า – ไทย
เส้นทางจากประเทศไทยสู่ประเทศอินเดีย
เส้นทางจากอำเภอแม่สอดเชื่อมสู่เมืองโมเรห์ประเทศอินเดีย โดยจะเริ่มต้นที่อำเภอแม่สอดผ่านเมืองย่างกุ้ง เมืองมัณฑะเลย์(ประเทศพม่า)และสิ้นสุดที่เมืองโมเรห์ประเทศอินเดีย รวมระยะทาง 3,200 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 11 ชั่วโมง
แนวพื้นที่เขตเศรษฐกิจ
1. แนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor: NSEC) ประกอบด้วย 3 เส้นทางหลัก ระยะทางรวม 1,800 กิโลเมตร คือ
a. เส้นทาง R3E หรือ R3A ซึ่งเชื่อมระหว่างจีนตอนใต้กับลาวและไทย โดยมีจุดเริ่มต้นที่ นครคุณหมิง มายังบ่อหาน บ่อเต็น หลวงน้ำทา และห้วยทรายของลาว
b. เส้นทาง R3W หรือ R3B มีจุดเริ่มต้นที่นครคุณหมิงเช่นกัน แต่ผ่านเข้ามาทางเมียนมาที่ท่าขี้เหล็ก
c. เส้นทาง R5 โดยมีจุดเริ่มต้นจากเมืองหนานหนิงในมณฑลกว่างสี มายังเมืองฮานอยและท่าเรือไฮฟองของเวียดนาม
2. แนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) หรือที่เรียกว่าเส้นทาง R2 หรือ R9 ก็ได้ (จะเรียก R9 เมื่ออยู่ในลาว) ซึ่งเส้นทางนี้มีเพียงเส้นทางหลักเดียว ไม่มีเส้นย่อย เป็นการตัดขวางเชื่อมระหว่าง 2 มหาสมุทร คือ มหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออก หรือทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรอินเดียทางตะวันตก โดยมีระยะทาง 1,450 กิโลเมตร เชื่อมโยง 4 ประเทศ ได้แก่ เมียนมา ไทย ลาว และเวียดนาม
Logistics routes to the Europe.
เส้นทาง EWEC
1.ดานัง-นครแม่สอด ระยะทาง 1,453 กิโลเมตร
2.นครแม่สอด-ย่างกุ้ง(พม่า) ระยะทาง 438 กิโลเมตร
3.นครแม่สอด-นิวเดลี(อินเดีย) ระยะทาง 3,617 กิโลเมตร
4.นครแม่สอด-ปากีสถาน ระยะทาง 5,137 กิโลเมตร
5.นครแม่สอด-อิร่าน ระยะทาง 6,830 กิโลเมตร
6.นครแม่สอด-ยุโรป ระยะทาง 10,000 กิโลเมตร
เส้นทาง R3A
1.กรุงเทพ-แม่สอด ระยะทาง 500 กิโลเมตร
2.นครแม่สอด- คุณหมิง ระยะทาง 1,776 กิโลเมตร
3.นครแม่สอด-มาเลเซีย ระยะทาง1,970 กิโลเมตร
4.นครแม่สอด – สิงคโปร์ ระยะทาง 2,309 กิโลเมตร
เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก
     ACMECS (Aeyawadee-Chaopraya-Mekong Economic Coorperation) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม เป็นยุทธศาสตร์ความร่วมมือที่สำคัญระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะมีส่วนสำคัญต่อการส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของไทย เพราะการที่ไทยจะเป็นศูนย์กลาง (HUB) ของอนุภูมิภาคได้นั้น ขึ้นอยู่กับการยอมรับจากประเทศเพื่อนบ้าน ในการที่จะใช้เส้นทางของไทยหรือยอมให้ไทยใช้เส้นทางในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นเรื่องของการลงตัวทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง โดยเฉพาะการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจต่อการได้และต่างรับประโยชน์จากการที่ไทยเป็นศูนย์กลางขนส่งของภูมิภาค
     BIMSTEC ( Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation ) หรือ การค้าเสรี สมาชิก BIMSTEC ประกอบด้วย 7 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย เป็นกลไกสำคัญหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุน ของไทยสู่เอเชียใต้ BIMSTEC เป็นตลาดขนาดใหญ่ มีประชากรกว่า 1,500 ล้านคน จึงมีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งกระจายสินค้าส่งออกของไทย ที่มีความหลากหลายทั้งด้านคุณภาพและราคาของสินค้า นอกจากนี้ไทยจะยังสามารถขยายขยายความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ในเอเชียใต้ ทั้ง บังกลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน ให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชียใต้และอาเซียนเข้าด้วยกัน