ตู้คอนเทนเนอร์เย็น
เราทราบดีว่าสินค้าแช่เย็นของลูกค้าสำคัญต่อลูกค้ามากแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นผักหรือผลไม้ที่เสียได้ง่าย อาหารทะเลแช่แข็ง เนื้อสัตว์หรือสินค้าทางด้านเภสัชกรรมที่มีมูลค่าสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านตู้รีเฟอร์ของเรา รับรองได้ว่าสินค้าของลูกค้าจะถูกเก็บไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสมตลอดเวลา เรารู้ดีว่าลูกค้าต้องการตู้คอนเทนเนอร์ที่เชื่อถือได้ สะอาด และควบคุมอุณหภูมิได้แน่นอน ทางกลุ่มบริษัทไทยรีเฟอร์ ยังคงพัฒนาด้านตู้คอนเทนเนอร์แบบเย็นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่าเราจะเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการตู้คอนเทนเนอร์แบบเย็นที่ใหญ่ที่สุดในตลาดไทย
เรามีช่างเทคนิคที่เชี่ยวชาญทางด้านตู้คอนเทนเนอร์แบบเย็นโดยเฉพาะคอยให้บริการและตอบคำถามลูกค้า ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพื่อปกป้องสินค้าที่มีมูลค่าของลูกค้าของเรา
สำหรับการเช่า หรือการขายตู้คอนเทนเนอร์แบบเย็นนั้น เรามีขนาด 10 ฟุต (3 เมตร), 20 ฟุต (6 เมตร), 40 ฟุต (12 เมตร) และ 45 ฟุต (ยาว 13 เมตร) ไว้คอยให้บริการ
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ info@ThaiReefer.co.th
Overview
ขนาดตู้คอนเทนเนอร์เย็น
Container Manual Download
Document for Carrier Thin Line Unit
Document for Carrier Prime Line Unit
Refrigeration Manual for 69NT40-541-500 to 599
Document for Thermoking Magnum Unit
Refrigeration Manual for Thermoking Magnum Unit
Manual for Daikin LXE10E-A Unit
Technical Specifications for Carrier 69NT40-561-250 Unit
ตู้คอนเทนเนอร์แบบเย็น (ตู้รีเฟอร์) ถูกนำมาใช้งานเป็นห้องเย็นเคลื่อนที่ หรือห้องเย็นขนาดเล็ก เพื่อกักเก็บสินค้าที่มีความไวต่ออุณหภูมิ และยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์เป็นตู้เก็บสินค้าแทนห้องเย็นได้ หรือใช้ในการขนส่งสินค้าแบบผสมผสานได้ เช่น ทางเรือ ทางรถไฟ และทางรถ
ตู้คอนเทนเนอร์แบบเย็น หรือห้องเย็นเคลื่อนที่ สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ระหว่าง +30 ถึง -40 องศาเซลเซียส มีบางตู้ที่ผลิตขึ้นมาพิเศษซึ่งสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ต่ำสุดถึง -60 องศาเซลเซียส
ตู้คอนเทนเนอร์แบบเย็นขนาดมาตรฐาน ปกติจะมีความยาว 20 ฟุต ( 6 เมตร) และ 40 ฟุต (12 เมตร) แต่ทางเราสามารถให้บริการลูกค้าด้วยตู้ขนาดพิเศษ 8 ฟุต, 10 ฟุต และ 45 ฟุต ตามที่ท่านต้องการได้
ทำไม “ไทยรีเฟอร์” จึงเป็นตัวเลือกอันดับ 1 สำหรับลูกค้า:
• มีช่างผู้เชี่ยวชาญทางด้านตู้คอนเทนเนอร์แบบเย็นมากพอที่จะคอยให้บริการลูกค้า
• มีอะไหล่ครบครัน
• มีทีมช่างเคลื่อนที่คอยให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน
• มีตู้คอนเทนเนอร์พร้อมให้บริการลูกค้าที่ต้องการตู้แบบเร่งด่วน
• มีจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าตลอดทั้งปี
นอกจากนี้เรายังมีตู้คอนเทนเนอร์แบบอื่นๆ ไว้ให้บริการด้วย เช่น ตู้คอนเทนเนอร์เย็นมือสอง, ตู้คอนเทนเนอร์แบบแห้ง, ตู้ ISO แท้งค์, ตู้แบบ Flat rack
ติดต่อเราเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและขอราคาได้เลย
สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน
ตู้คอนเทนเนอร์ถูกออกแบบและผลิตมาเพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าจำพวกอาหารแช่แข็ง อาหารแช่เย็น และสินค้าทั่วไป โดยการขนส่งทางทะเล ทางรถ และทางรถไฟไปทั่วโลก ตู้คอนเทนเนอร์ที่ดีต้องยังใช้งานได้ดีภายใต้สภาวะการขนส่งข้างต้น รวมถึงสภาวะอากาศที่อาจเย็นถึง -40 องศาเซลเซียส หรือร้อนถึง +80 องศาเซลเซียส โดยไม่ส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงและความทนทานของตู้
การจัดการ
1) การยกตู้หนักหรือตู้เปล่า ที่รูของฐานบริเวณมุมด้านบน ยกแนวตั้ง โดยใช้ spreader ที่ตะขอเกี่ยว โซ่ หรือทวิทล็อก ล๊อกที่ฐาน
2) การยกตู้หนักหรือตู้เปล่า ที่รูของฐานบริเวณมุมด้านล่าง โดยใช้สลิงค์ที่มีตะขอเกี่ยว โดยเกี่ยวเข้าทุกมุม และยกให้สลิงค์ทำมุม 30องศากับแนวนอนของตู้
การขนส่งทางบก
บนหางแบน หรือหางก้างปลา ต้องทำให้ปลอดภัยด้วยทวิทล๊อก และ หัวหมุดเพื่อล๊อกมุมฐานด้านล่างเอาไว้
ฉนวนกันความร้อน (ทั่วไป)
ความหนา | ความหนาแน่นโดยรวม | ความหนาแน่นหลัก | |
ฐาน | 95 มม. | 50 กก./ลูกบาศ์กเมตร | 40-47 กก./ลูกบาศ์กเมตร |
ด้านข้าง | 65 มม. | 45 กก./ลูกบาศ์กเมตร | 35-42 กก./ลูกบาศ์กเมตร |
หลังคา | 90 มม. | 45 กก./ลูกบาศ์กเมตร | 35-42 กก./ลูกบาศ์กเมตร |
ประตู | 78 มม. | 55 กก./ลูกบาศ์กเมตร | 45-52 กก./ลูกบาศ์กเมตร |
ผนังด้านหน้า | 67-85 มม. | 50 กก./ลูกบาศ์กเมตร | 40-47 กก./ลูกบาศ์กเมตร |
ระบบทำความเย็น
ระบบถูกออกแบบมาเพื่อรักษาอุณหภูมิของสินค้าในช่วงอุณหภูมิระหว่าง –40องศาเซลเซียส (-22 องศาฟาเรนไฮต์) ถึง +30 องศาเซลเซียส (86 องศาฟาเรนไฮต์) และถูกออกแบบให้ทำงานได้ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิระหว่าง -30 องศาเซลเซียส ถึง +50 องศาเซลเซียส
ระบบทำความเย็นถูกออกแบบให้ทำงานได้ดีระหว่างขนส่งทางเรือในมหาสมุทรและสภาพแวดล้อมที่พบเจอขณะนั้นๆ เช่น ไอเกลือจากน้ำทะเล ละอองน้ำทะเล และความชื้นสูง นอกจากนี้ยังทำงานได้ดีต่อการสั่นสะเทือนระหว่างการขนส่งทางเรือ ทางบก และทางรถไฟ
การใช้ไฟฟ้าของตู้คอนเทนเนอร์เย็น
จากการทดสอบ ผลจากการใช้งานตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งใช้เป็นห้องเก็บสินค้า ได้ผลสรุปตามผลลัพธ์ด้านล่าง ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความถี่ของการเปิด-ปิดประตูตู้คอนเทนเนอร์ในแต่ละวัน
KWh | บาท/เดือน | |||
ต่ำสุด | สูงสุด | ต่ำสุด | สูงสุด | |
ตู้คอนเทนเนอร์เย็น 20 ฟุต | 2.75 | 5.5 | 7,920 | 15,840 |
ตู้คอนเทนเนอร์เย็น 40 ฟุต | 3.75 | 6.5 | 9,360 | 18,720 |
*ผลจากการใช้งานจริงอาจมีผลลัพธ์ที่แตกต่างกันได้
การตรวจสอบระบบก่อนการนำไปใช้งาน (Pre trip inspection : PTI)
การทำ pre trip เป็นการทดสอบตามมาตรฐาน เพื่อทำให้แน่ใจว่าเครื่องทำความเย็นสามารถทำงานโดยไม่มีความผิดปกติ และสามารถปล่อยออกไปใช้งานได้
การทดสอบ PTI นั้น สามารถเลือกเมนูได้ 2 แบบ ระหว่างการทำ PTI แบบปกติ และ การทำ PTI แบบสั้น
การติดตั้งตู้คอนเทนเนอร์เย็นด้วยตนเอง
6 ขั้นตอนในการติดตั้งตู้คอนเทนเนอร์เย็นด้วยตนเอง
การเซ็ตอุณหภูมิให้กับตู้คอนเทนเนอร์เย็น
วิธีเซ็ตอุณหภูมิให้กับตู้คอนเทนเนอร์เย็น หน้าเครื่องทำความเย็น Carrier
วิธีเซ็ตอุณหภูมิให้กับตู้คอนเทนเนอร์เย็น หน้าเครื่องทำความเย็น Daikin
วิธีเซ็ตอุณหภูมิให้กับตู้คอนเทนเนอร์เย็น หน้าเครื่องทำความเย็น ThermoKing
วิธีเคลียร์ Alarm list สำหรับตู้คอนเทนเนอร์ Carrier ML2i & ML3